หนังสือสัญญาเงินกู้หรือการกู้เงินนอกระบบแบบไม่โอนไม่ดาวน์ และนัดทำสัญญาตามกฏหมายใหม่ 2024/2567

สาระน่ารู้เกี่ยวกับสัญญากู้ยืมเงิน

สัญญาเงินกู้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน ซึ่งเป็นสัญญาระหว่างคนกู้กับคนให้กู้  โดยจะมีรายละเอียดอยู่ในสัญญากู้ยืมเงินดังนี้ วันที่ทำสัญญากู้ยืมเงิน, ชื่อ ผู้ยืมเงิน และผู้ให้ยืม,  จำนวนเงินที่จะยืม, ระยะเวลาที่จะใช้คืน, ดอกเบี้ยอยู่ในสัญญากู้ยืมเงินโดยจะไม่เกินดอกเบี้ยเกินร้อยละ สิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ถือว่าผิดกฎหมาย ผู้กู้สามารถฟ้องเรียกร้องได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาญิชย์ มาตรา 654 ), ลงลายมือชื่อของผู้ขอยืม การทำหนังสือสัญญาเงินกู้ ถือว่า เป็นหลักฐานคนกู้กับคนให้กู้เกิดความสบายใจแก่กัน หากเกิดการเบี้ยวหนี้หรือไม่จ่าย เราก็จะสามารถใช้หนังสือสัญญาเงินกู้ ไปฟ้องร้องต่อศาลได้อีกด้วย โดยศาลจะเป็นผู้ตัดสินให้ผู้กู้ชำระเงินให้แก่ผู้ให้กู้ หลักฐานการกู้ยืมเงินนั้นกฎหมายได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653

  1. หลักฐานการทำหนังสือสัญญาเงินกู้

เมื่อมีการตกลงทำความเข้าใจที่จะยืมเงินกันแล้ว ทั้งสองฝ่ายก็มาดูการทำหนังสือสัญญาเงินกู้กันเลย

การกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาทขึ้นไป หากมิได้มีหลักฐานหรือสัญญา หรือหนังสือสัญญาแต่อย่างใด ก็ไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653)

ส่วนการยืมเงินไม่เกิน 2,000 บาท กฎหมายไม่ได้บังคับว่าจะต้องทำหลักฐานกู้เงินต่อกันหรือไม่ ซึ่งเพียงแค่บอกปากเปล่า ก็ถือว่าเป็นหลักฐานได้แล้ว เพราะสามารถนำไปฟ้องร้องต่อศาลได้เมื่อเค้าไม่ชำระเงินคืน ก็จะถือว่าเป็นการผิดสัญญา หรือผิดข้อตกลงทำให้เราสามารถฟ้องร้องผู้กู้ได้

  1. เอกสารที่ใช้สำหรับการทำสัญญาเงินกู้

หากคุณต้องการจะกู้เงินจำเป็นจะต้องใช้เอกสารเพื่อเป็นหลักประกันต่อเจ้าหนี้ของคุณ โดยคุณอาจจะต้องเตรียมเอกสารต่างๆ ไว้สำหรับการกู้เงิน ดังนี้

  • สำเนาบัตรประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ หรือ สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการที่ยังไม่หมดอายุ
  • ใบเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • กรณีสมรสจดทะเบียน – สำเนาทะเบียนสมรส
  • สลิปเงินเดือน 1 เดือน (อายุเอกสารไม่เกิน 3 เดือน)
  • หนังสือรับรองเงินเดือน (อายุเอกสารไม่เกิน 3 เดือน) พร้อมสำเนา Statement ย้อนหลัง 6 เดือน หรือ
  • ตัวอย่างหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ)
  1. ข้อควรระวังในการทำสัญญาเงินกู้

เมื่อได้รับหนังสือเงินกู้แล้ว ผู้กู้เงินควรอ่านรายละเอียด ตรวจสอบเนื้อหาในสัญญาอย่างรอบคอบโดยจะต้องอ่านสัญญาในทุกบรรทัดเลยก็ว่าได้ เพื่อไม่ให้ผู้กู้เสียเปรียบได้ หากผู้กู้ไม่เข้าใจหรือติดปัญหาในตัวสัญญาก็สามารถแจ้งต่อผู้ให้กู้ได้ว่า ไม่เห็นด้วย แต่ถ้าหากผู้กู้อ่านตรวจสอบอย่างละเอียดอย่างถี่ถ้วนแล้ว ก็สามารถลงลายชื่อเพื่อกู้ยืมเงินได้

สุดท้ายนี้ การทำสัญญากู้ยืมเงินเป็นเรื่องที่จะต้องตรวจสอบอย่างถี่ถ้วน หากผิดพลาดขึ้นมาจะทำให้เกิดเรื่องราวใหญ่โต หรืออาจถูกฟ้องร้องได้